เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2539 ได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ตามข้อเสนอกระทรวงมหาดไทยและรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ ตำบลกบินทร์จึงได้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย สถานที่ตั้งคือศูนย์ข้อมูลข่าวสารประจำตำบล โดยมีนายถนอมวงษ์ สุริยวงษ์ กำนันตำบลกบินทร์ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์โดยตำแหน่ง เมื่อครบวาระ 4 ปี ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2543 โดยมีนายวิเศษ เพียรอุตสาหะ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารส่วนตำบลกบินทร์ เมื่อครบวาระ 4 ปี ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่สองขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 โดยมีนายกฤษฎากรณ์ สุริยวงษ์ ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ จนถึงปัจจุบัน ในปี 2539 ได้มีนายชาญชัย อักโข ดำรงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น ปี 2541 ได้มีนายพิทยา สังฆฤทธ์ ดำรงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ จนถึงปัจจุบัน
ตำบลกบินทร์ เป็นตำบลเก่าแก่ตั้งแต่ปีพ.ศ.2469 จนถึงปัจจุบันรวม 75 ปี มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยทำสงครามกับญวนยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสให้พระเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)เป็นแม่ทัพไปปราบญวน ซึ่งเข้ามารุกรานเขมร เมืองประเทศราชของไทย เจ้าพระยาบดินทรเดชามาชุมนุมไพร่พลที่กบินทร์ สร้างยุ้งฉางสะสมเสบียงกำลังไว้เป็นทัพหนุน ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยอีสาน นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอประกอบด้วย 12 หมู่บ้านดังนี้ บ้านโคกสูง บ้านทุ่งแฝก บ้านปากแพรก บ้านหนองช้างลง บ้านนางเลง บ้านสระดู่ บ้านโคกป่าแพง บ้านโนน บ้านท่าขี้เหล็ก บ้านชำโสม บ้านคลองกลาง และหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลเป็นบางส่วนคือ หมู่ที่2 บ้านทุ่งแฝก หมู่ที่4 บ้านหนองช้างลง หมู่ที่5 บ้านนางเลง หมู่ที่8 บ้านโนน หมู่ที่9 บ้านท่าขี้เหล็ก |